คุ้มไหม? ที่จะตามล่า “นางพญาเสือโคร่ง” ซากุระของประเทศไทย

หลังจากทริปเชียงใหม่ที่ตั้งใจไปตามล่า “นางพญาเสือโคร่ง”…. ฉันมีคำถามผุดขึ้นมาในใจ “ว่าคุ้มไหม” กับค่าตั๋วเครื่องบิน ค่ารถ และเวลาที่เสียไป

คำตอบของคำถามนี้ … ฉันว่าอยู่ที่ “ความคาดหวัง” ค่ะ

ถ้าคุณคาดหวังจะได้เห็นต้นนางพญาเสือโคร่งเป็นร้อยๆต้น ดอกสีชมพูคล้ายทะเลสีหวานๆท่ามกลาง เนินเขาหล่ะก็ … คุณคงผิดหวังและเจ็บนิดๆ

เพราะต้นนางพญาเสือโคร่งที่ขึ้นบนดอยของไทยเรานั้นขึ้นเป็นหย่อมๆ กระจัดกระจาย อาจมีเยอะอยู่บ้าง ตามสถานีการเกษตร หรืออุทยานที่ปลูกกัน แต่ก็ไม่ตระการตาเท่ากับซากุระของญี่ปุ่นแน่นอน …

DSCF7297

สาเหตุก็เพราะซากุระของญี่ปุ่น เขาตั้งใจปลูกให้ขึ้นพร้อมกันหลายสิบหลายร้อยต้น เขาเพาะกันในสวนสาธารณะ ตั้งใจให้บานพร้อมๆกันเป็นแหล่งท่องเที่ยว

แต่ต้นนางพญาเสือโคร่งของบ้านเรา ขึ้นเองตามป่าเขา ธรรมชาติสร้าง จึงไม่ฟุ้มเท่ากับซากุระแน่นอน … และภาพถ่ายที่โพสกันได้ยอดไลค์ สูงลิบ หลายครั้งก็ใช้มุมที่ทำให้ดูเยอะ ดูฟุ้ม เร่งสี เร่งแสงให้งดงามมากกว่าความเป็นจริงค่ะ

DSCF7267

DSCF7251

ต้นจริงของรูปนี้ค่ะ มีแค่ต้นเดียวเท่านั้น

DSCF7255

ฤดูกาลของต้นนางพญาเสือโคร่งก็เป็นอีกปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้ เราไม่มีพยากรณ์ซากุระอย่างญี่ปุ่น ดังนั้น บางครั้งเราอาจเห็นน้อย หรือมากก็เป็นได้ค่ะ

ทางออกของความคุ้มค่าสำหรับฉัน จึงอยู่ที่การตั้งความหวังให้ตรงกับความเป็นจริง และเที่ยวควบคู่ไปกับความงดงามอื่นๆตามเส้นทาง ซึ่งฉันมี 2 เส้นทางมาแนะนำค่ะ

ขุนช้างเคี่ยน เป็นสถานีวิจัยของคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่มีต้นนางพญาเสือโคร่งให้ชม เส้นทางการเดินทางไปที่ขุนช้างเคี่ยน ยังมีแหล่งท่องเที่ยวน่าสนใจอื่นๆอีก อาทิ สวนสัตว์เชียงใหม่ ช่วงช่วงและหลินฮุ่ย, สักการะครูบาศรีวิชัย, ดอยปุย, พระตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์ และไหว้พระวัดพระธาตุดอยสุเทพค่ะ

(ใช้เวลาเดินทางจากตัวเมืองเชียงใหม่ประมาณ 40-60 นาที)

สักการะครูบาศรีวิชัย

DSCF7025

ไหว้พระธาตุดอยสุเทพ

DSCF7031

DSCF7062

ขุนวาง เป็นอีกศูนย์วิจัยเกษตรหลวงที่ตั้งอยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ และเป็นจุดที่ฉันขับขึ้นไปชมนางพญาเสือโคร่งในทริปนี้ และละแวกใกล้เคียงกัน ยังมีแหล่องท่องเที่ยวอีกหลายแห่ง เช่น พระธาตุนภเมทนีดลและพระธาตุนภพลภูมิสิริ พระธาตุที่ทางกองทัพอากาศสร้างถวายองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระราชินีนาถ, น้ำตกแม่ยะ น้ำตกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์, น้ำตกแม่กลาง น้ำตกจากหน้าผาสูงประมาณ 100 เมตร และดอยอินทนนท์ จุดสูงสุดของแดนสยาม

(ใช้เวลาเดินทางจากตัวเมืองเชียงใหม่ประมาณ 2 ชั่วโมง)

ขุนวางในต้นเดือนกุมภาพันธ์

DSCF7315

DSCF7313

พระธาตุนภเมทนีดลและพระธาตุนภพลภูมิสิริ

DSCF7332

DSCF7333

DSCF7338

ดอยอินทนนท์ จุดสูงสุดแดนสยาม

DSCF7325

กุหลาบพันปี ดอยอินทนนท์DSCF7328

 

หวังว่าข้อมูลที่รวบรวมมาและคำแนะนำจะเป็นประโยชน์ให้กับทุกคนที่วางแผนตามล่านางพญาเสือโคร่งต้นปีหน้านะคะ

ข้อมูลเพิ่มเติมของต้นนางพญาเสือโคร่ง (บางส่วนจาก Wikipedia)

  • ต้นนางพญาเสือโคร่ง มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Wild Himalayan Cherry เป็นพืชดอกในสกุล Prunus ซึ่งเป็นสกุลเดียวกับซากุระ ดังนั้นจะเรียกว่าซากุระเมืองไทย ก็ไม่ผิดนัก
  • ดอกจะออกในฤดูหนาว หรือประมาณเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ของประเทศไทย
  • ต้นนางพญาเสือโคร่งจะเติบโตบนภูเขาตั้งแต่ความสูง 1,200-2,400 เมตรจากระดับน้ำทะเลเท่านั้น ดังนั้นจึงมีให้เห็นแค่เพียงไม่กี่ดอยของประเทศไทย เช่น ภูลมโล จังหวัดเลย, ดอยแม่สลอง จังหวัดเชียงราย, ดอยเวียงแหง ดอยอ่างขาง ขุนช่างเคี่ยน ขุนแม่ยะ ขุนวาง จังหวัดเชียงใหม่, ขุนสถาน ดอยวาว ดอยภูคา มณีพฤกษ์ จังหวัดน่าน, ภูทับเบิก จังหวัดเพชรบูรณ์, ภูหินร่องกล้า จังหวัดพิษณุโลก

DSCF7268