ครอบครัวเรายกขบวนไปเที่ยวภูเก็ตกันเมื่อปลายเดือนตุลาคมค่ะ ทริปนี้มีข้อจำกัดทั้งด้านศักยาภาพและกายภาพ เพราะเรามีหนึ่งเบบี้หนึ่ง หนึ่งเด็กหนึ่ง และสองซีเนีย
ห้าวันที่เที่ยวภูเก็ต จึงเที่ยวตามอัตภาพของสมาชิกภายในกลุ่ม ขับรถไปชิลๆ ผ่านที่ไหนก็แวะชม … เก็บภาพ และข้อมูลมาฝากกันง่ายๆ จึงอาจไม่ใช่ไกด์เที่ยวภูเก็ตแบบละเอียดทุกจุดอย่างที่เคยเขียนไว้ แต่ก็น่าจะพอใช้ได้ สำหรับใครที่ยังไม่เคยไปภูเก็ตค่ะ
เสน่ห์ของวันวานที่ “หาดสุรินทร์”
ไปภูเก็ตครั้งนี้ ฉันตะลอนทัวร์ ขับรถเลียบหาดอยู่หลายแห่ง และก็พบว่า “หาดสุรินทร์” เป็นหาดขนาดเล็ก แต่มีเสน่ห์อย่างร้ายกาจ
น้ำทะเลสีฟ้าคราม จัดจ้านและระยิบระยับ … จำนวนนักท่องเที่ยวที่บางตา ทำให้ร้านอาหารและร้านค้าของนักท่องเที่ยวน้อยลงไปด้วย
น่าเสียดายที่หาดนี้ มีชายหาดที่ลาดชัน คลื่นจึงสูง ซึ่งต้องระวังมากหากจะลงเล่นน้ำ ทว่าจุดเด่นนี้ ก็ทำให้หาดสุรินทร์ เป็นแหล่งที่นิยมของนักโต้คลื่นและนักกีฬาทางน้ำที่ชอบความเสี่ยง
ฉันเดินเล่น เหยียบทรายละเอียดอยู่สักพัก สูดอากาศและชมความงามเท่าที่จะเก็บไว้ได้ … วันวานของภูเก็ตคงไม่ต่างอะไรจากหาดแห่งนี้ สงบ สวย และเป็นธรรมชาติ
การเดินทาง : หาดสุรินทร์ตั้งอยู่ระหว่างหาดกมลาและหาดบางเทา เหมาะสำหรับผู้ที่เช่ารถขับ เพราะบริเวณนี้หา แท็กซี่ยากพอตัวค่ะ
วัดพระผุด (วัดพระทอง)
วัดพระผุดอยู่ห่างจากตัวเมืองภูเก็ตเกือบยี่สิบกิโล วัดนี้ไม่ได้มีขนาดใหญ่นัก แต่กลับมีชื่อเสียงเพราะเป็นวัดที่มีพระพุทธรูปผุดขึ้นมาจากพื้นดิน เป็นแห่งเดียวของประเทศไทย
ความเดิมเล่าว่าพระผุดนี้ สร้างโดยเจ้าเมืองจีนเมื่อสองพันปีที่แล้ว เมื่อมีสงครามกับธิเบต จึงถูกชาวธิเบตขนกลับมาที่ประเทศของตน แต่ระหว่างทางเรือล่มในทะเล และพื้นดินบริเวณนั้น ได้แปรเปลี่ยนเป็นเกาะภูเก็ต จึงเกิดเป็นพระผุดขึ้นมาจากพื้นดินเพียงครึ่งองค์
ถามว่า ทำไมไม่มีใครขุดท่านจากพื้นดินขึ้นมาทั้งองค์? นั่นเพราะชาวเมืองมีความเชื่อกันว่า ใครที่ขุดท่านขึ้นมาจะเกิดอาเพศได้ ชาวเมืองจึงคงท่านไว้เช่นนี้ และสร้างศาลาขึ้นเพื่อเป็นที่สักการะของชาวเมืองต่อไป
การเดินทาง : หมู่ที่ 7 ตำบลเทพกระษัตรี อำเภอถลาง ขับรถตามถนนเทพกษัตรีผ่านสี่แยกอำเภอถลาง ทางด้านขวาจะมีทางแยกเข้าวัดพระผุด หรือวัดพระทอง
วัดฉลอง
หลวงพ่อแช่มวัดฉลอง เป็นพระที่ครอบครัวเรานับถือมาตลอด และห้อยติดตัวมาตั้งแต่เด็กๆค่ะ
หลวงพ่อแช่มเป็นที่เคารพรักของชาวเมืองภูเก็ต ชื่อเสียงด้านความเมตตาและความศักดิ์สิทธิ์ของท่านในด้านการรักษาโรคภัย เป็นที่รู้จักกันดีเมื่อร้อยปีก่อน ใครที่เดินทางไปภูเก็ต ก็มักแวะเวียนไปกราบไหว้บูชา ขอพรเพื่อความเป็นสิริมงคลของตัวเอง
บริเวณของตัววัดยังมี พระมหาธาตเจดีย์พระจอมไทยบารมี ซึ่งมีพระบรมสารีลิกธาตุของพระพุทธเจ้าที่นำมาจากศรีลังกาให้เรากราบไหว้บูชาอีกด้วย
ภายในพระเจดีย์ประดิษฐานด้วยพระพุทธรูปปางต่างๆมากมาย โดยหากเดินขึ้นไปที่ชั้นบนของเจดีย์ เราจะได้เห็นวิวสวยงามของตัววัดทั้งหมดค่ะ
และด้านข้างของอุโบสถ์ใหญ่ เป็นที่ตั้งของกุฏิจำลองหลวงพ่อแช่ม ภายในมีหุ่นขึ้นผึ้งของหลวงพ่อแช่มให้เราได้กราบไหว้อีกเช่นกันค่ะ
การเดินทาง : วัดฉลองอยู่ห่างจากตัวเมืองประมาณ 8 กิโลเมตร ขับรถไปตามทางหลวงหมายเลข 4021 วัดฉลองจะอยู่ทางซ้ายมือก่อนถึงห้าแยกฉลลอง
พิพิธภัณธ์เหมืองแร่
ภูเก็ตเป็นเมืองของเหมืองแร่ และนายหัว (เจ้าของธุรกิจเหมืองแร่) ก่อนจะกลายมาเป็นเมืองแห่งทะเลงาม ไข่มุกของอันดามัน
พิพิธภัณฑ์เหมืองแร่แห่งนี้ ตั้งอยู่ที่อำเภอกะทุ้ อำเภอที่มีการทำเหมืองแร่ดีบุกอย่างแพร่หลายในอดีต
ภายในพิพิธภัณฑ์จัดแสดงเป็นห้องต่างๆ เริ่มด้วยห้องนายหัวใหญ่ของภูเก็ต ไปจนถึง Life Museum ที่สร้างจำลองการทำเหมืองแร่ชนิดต่างๆ ก่อนจะจบด้วยวิถีชีวิตของชาวเมืองภูเก็ต ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวจีนฮกเกี้ยนที่ย้ายถิ่นฐานมาอยุ่ในประเทศไทย
ฉันว่าพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ เป็นหนึ่งในพิพิธภัณฑ์ที่น่าชม ไม่ได้มุ่งหวังผลกำไร แต่ต้องการที่จะปกปักษ์รักษาต้นกำเนิดของภูเก็ตให้ชนรุ่นหลังได้รับรู้
เส้นทางเข้าไปสู่พิพิธภัณฑ์ต้องขับผ่านโรงเรียน หมู่บ้าน และแนวเขาเขียวขจี จึงทำให้มีผู้คนเข้าไปชมค่อนข้างน้อย ทั้งๆที่เป็นเส้นทางที่สวยงาม (มาก) และข้อมูลที่จัดแสดงก็ดีและน่าติดตามค่ะ
การเดินทาง : หมู่ 5 ถนนสายกะทู้ เกาะหน้า ตำบลกะทู้ อำเภอเมืองกะทู้
แหลมพรหมเทพ
ชื่อเสียงความงดงามของแหลมเจ้า หรือแหลมพรหมเทพนี้ โด่งดังเป็นที่รู้จักของทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ
ปัจจุบันการเดินทางไปชมพระอาทิตย์ตกดินที่แหลมพรหมเทพ ควรต้องเผื่อเวลารถติดเอาไว้ด้วย โดยหากไปจากในตัวเมือง อาจใช้เวลาเกือบ 40-50 นาทีในบางครั้ง
และหนึ่งชั่วโมงก่อนพระอาทิตย์ตกดิน ที่จอดรถค่อนข้างหายาก ผู้ชมต่างจับจองที่นั่งขอบกำแพงหิน เพื่อชมพระอาทิตย์ที่กำลังจะลาขอบฟ้า
ฉันขับรถผ่านไปแหลมพรหมเทพถึงสองครั้งในทริปนี้ ช่วงกลางวันที่แดดจ้า มีหนุ่มสาวหลายคู่ แวะมาถ่ายภาพงานแต่งงาน (Wedding Studio) และส่วนใหญ่เป็นชาวต่างชาติ ซึ่งทำให้คนไทยอย่างเราภูมิใจในความงดงามของบ้านเมืองเรา
สะพานหิน
นอกจากเขารังแล้ว สะพานหิน ก็เป็นอีกสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของชาวเมืองภูเก็ต
คุณพ่อของฉัน ซึ่งเป็นคนภูเก็ต เคยเล่าให้ฟังว่า หนุ่มสาวในเมือง จะมาเกี้ยวพาราสีกันที่สะพานหินแห่งนี้ และในช่วงเทศกาลกินเจ ชาวเมืองภูเก็ตก็จะมาส่งเทพเจ้ากันที่นี่ค่ะ
ช่วงเวลาที่เหมาะไปเดินเล่นที่สะพานหิน เป็นช่วงเช้า และเย็นค่ะ ใครที่ชอบออกกำลังกาย ก็ติดรองเท้าจ้อกกิ้งมาด้วย วิ่งรอบๆ ชมวิวทะเล สูดอากาศสดๆ อิ่มใจจริงค่ะ
การเดินทาง : ตั้งอยู่ในตัวเมืองภูเก็ต ขับรถตามถนนภูเก็ตตรงมาเรื่อยๆ
— The End —
27 Nov 2014
0 Comments
Let’s Go Phuket!!! 6 ที่เที่ยวน่าชม
ครอบครัวเรายกขบวนไปเที่ยวภูเก็ตกันเมื่อปลายเดือนตุลาคมค่ะ ทริปนี้มีข้อจำกัดทั้งด้านศักยาภาพและกายภาพ เพราะเรามีหนึ่งเบบี้หนึ่ง หนึ่งเด็กหนึ่ง และสองซีเนีย
ห้าวันที่เที่ยวภูเก็ต จึงเที่ยวตามอัตภาพของสมาชิกภายในกลุ่ม ขับรถไปชิลๆ ผ่านที่ไหนก็แวะชม … เก็บภาพ และข้อมูลมาฝากกันง่ายๆ จึงอาจไม่ใช่ไกด์เที่ยวภูเก็ตแบบละเอียดทุกจุดอย่างที่เคยเขียนไว้ แต่ก็น่าจะพอใช้ได้ สำหรับใครที่ยังไม่เคยไปภูเก็ตค่ะ
เสน่ห์ของวันวานที่ “หาดสุรินทร์”
ไปภูเก็ตครั้งนี้ ฉันตะลอนทัวร์ ขับรถเลียบหาดอยู่หลายแห่ง และก็พบว่า “หาดสุรินทร์” เป็นหาดขนาดเล็ก แต่มีเสน่ห์อย่างร้ายกาจ
น้ำทะเลสีฟ้าคราม จัดจ้านและระยิบระยับ … จำนวนนักท่องเที่ยวที่บางตา ทำให้ร้านอาหารและร้านค้าของนักท่องเที่ยวน้อยลงไปด้วย
น่าเสียดายที่หาดนี้ มีชายหาดที่ลาดชัน คลื่นจึงสูง ซึ่งต้องระวังมากหากจะลงเล่นน้ำ ทว่าจุดเด่นนี้ ก็ทำให้หาดสุรินทร์ เป็นแหล่งที่นิยมของนักโต้คลื่นและนักกีฬาทางน้ำที่ชอบความเสี่ยง
ฉันเดินเล่น เหยียบทรายละเอียดอยู่สักพัก สูดอากาศและชมความงามเท่าที่จะเก็บไว้ได้ … วันวานของภูเก็ตคงไม่ต่างอะไรจากหาดแห่งนี้ สงบ สวย และเป็นธรรมชาติ
การเดินทาง : หาดสุรินทร์ตั้งอยู่ระหว่างหาดกมลาและหาดบางเทา เหมาะสำหรับผู้ที่เช่ารถขับ เพราะบริเวณนี้หา แท็กซี่ยากพอตัวค่ะ
วัดพระผุด (วัดพระทอง)
วัดพระผุดอยู่ห่างจากตัวเมืองภูเก็ตเกือบยี่สิบกิโล วัดนี้ไม่ได้มีขนาดใหญ่นัก แต่กลับมีชื่อเสียงเพราะเป็นวัดที่มีพระพุทธรูปผุดขึ้นมาจากพื้นดิน เป็นแห่งเดียวของประเทศไทย
ความเดิมเล่าว่าพระผุดนี้ สร้างโดยเจ้าเมืองจีนเมื่อสองพันปีที่แล้ว เมื่อมีสงครามกับธิเบต จึงถูกชาวธิเบตขนกลับมาที่ประเทศของตน แต่ระหว่างทางเรือล่มในทะเล และพื้นดินบริเวณนั้น ได้แปรเปลี่ยนเป็นเกาะภูเก็ต จึงเกิดเป็นพระผุดขึ้นมาจากพื้นดินเพียงครึ่งองค์
ถามว่า ทำไมไม่มีใครขุดท่านจากพื้นดินขึ้นมาทั้งองค์? นั่นเพราะชาวเมืองมีความเชื่อกันว่า ใครที่ขุดท่านขึ้นมาจะเกิดอาเพศได้ ชาวเมืองจึงคงท่านไว้เช่นนี้ และสร้างศาลาขึ้นเพื่อเป็นที่สักการะของชาวเมืองต่อไป
การเดินทาง : หมู่ที่ 7 ตำบลเทพกระษัตรี อำเภอถลาง ขับรถตามถนนเทพกษัตรีผ่านสี่แยกอำเภอถลาง ทางด้านขวาจะมีทางแยกเข้าวัดพระผุด หรือวัดพระทอง
วัดฉลอง
หลวงพ่อแช่มวัดฉลอง เป็นพระที่ครอบครัวเรานับถือมาตลอด และห้อยติดตัวมาตั้งแต่เด็กๆค่ะ
หลวงพ่อแช่มเป็นที่เคารพรักของชาวเมืองภูเก็ต ชื่อเสียงด้านความเมตตาและความศักดิ์สิทธิ์ของท่านในด้านการรักษาโรคภัย เป็นที่รู้จักกันดีเมื่อร้อยปีก่อน ใครที่เดินทางไปภูเก็ต ก็มักแวะเวียนไปกราบไหว้บูชา ขอพรเพื่อความเป็นสิริมงคลของตัวเอง
บริเวณของตัววัดยังมี พระมหาธาตเจดีย์พระจอมไทยบารมี ซึ่งมีพระบรมสารีลิกธาตุของพระพุทธเจ้าที่นำมาจากศรีลังกาให้เรากราบไหว้บูชาอีกด้วย
ภายในพระเจดีย์ประดิษฐานด้วยพระพุทธรูปปางต่างๆมากมาย โดยหากเดินขึ้นไปที่ชั้นบนของเจดีย์ เราจะได้เห็นวิวสวยงามของตัววัดทั้งหมดค่ะ
และด้านข้างของอุโบสถ์ใหญ่ เป็นที่ตั้งของกุฏิจำลองหลวงพ่อแช่ม ภายในมีหุ่นขึ้นผึ้งของหลวงพ่อแช่มให้เราได้กราบไหว้อีกเช่นกันค่ะ
การเดินทาง : วัดฉลองอยู่ห่างจากตัวเมืองประมาณ 8 กิโลเมตร ขับรถไปตามทางหลวงหมายเลข 4021 วัดฉลองจะอยู่ทางซ้ายมือก่อนถึงห้าแยกฉลลอง
พิพิธภัณธ์เหมืองแร่
ภูเก็ตเป็นเมืองของเหมืองแร่ และนายหัว (เจ้าของธุรกิจเหมืองแร่) ก่อนจะกลายมาเป็นเมืองแห่งทะเลงาม ไข่มุกของอันดามัน
พิพิธภัณฑ์เหมืองแร่แห่งนี้ ตั้งอยู่ที่อำเภอกะทุ้ อำเภอที่มีการทำเหมืองแร่ดีบุกอย่างแพร่หลายในอดีต
ภายในพิพิธภัณฑ์จัดแสดงเป็นห้องต่างๆ เริ่มด้วยห้องนายหัวใหญ่ของภูเก็ต ไปจนถึง Life Museum ที่สร้างจำลองการทำเหมืองแร่ชนิดต่างๆ ก่อนจะจบด้วยวิถีชีวิตของชาวเมืองภูเก็ต ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวจีนฮกเกี้ยนที่ย้ายถิ่นฐานมาอยุ่ในประเทศไทย
ฉันว่าพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ เป็นหนึ่งในพิพิธภัณฑ์ที่น่าชม ไม่ได้มุ่งหวังผลกำไร แต่ต้องการที่จะปกปักษ์รักษาต้นกำเนิดของภูเก็ตให้ชนรุ่นหลังได้รับรู้
เส้นทางเข้าไปสู่พิพิธภัณฑ์ต้องขับผ่านโรงเรียน หมู่บ้าน และแนวเขาเขียวขจี จึงทำให้มีผู้คนเข้าไปชมค่อนข้างน้อย ทั้งๆที่เป็นเส้นทางที่สวยงาม (มาก) และข้อมูลที่จัดแสดงก็ดีและน่าติดตามค่ะ
การเดินทาง : หมู่ 5 ถนนสายกะทู้ เกาะหน้า ตำบลกะทู้ อำเภอเมืองกะทู้
แหลมพรหมเทพ
ชื่อเสียงความงดงามของแหลมเจ้า หรือแหลมพรหมเทพนี้ โด่งดังเป็นที่รู้จักของทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ
ปัจจุบันการเดินทางไปชมพระอาทิตย์ตกดินที่แหลมพรหมเทพ ควรต้องเผื่อเวลารถติดเอาไว้ด้วย โดยหากไปจากในตัวเมือง อาจใช้เวลาเกือบ 40-50 นาทีในบางครั้ง
และหนึ่งชั่วโมงก่อนพระอาทิตย์ตกดิน ที่จอดรถค่อนข้างหายาก ผู้ชมต่างจับจองที่นั่งขอบกำแพงหิน เพื่อชมพระอาทิตย์ที่กำลังจะลาขอบฟ้า
ฉันขับรถผ่านไปแหลมพรหมเทพถึงสองครั้งในทริปนี้ ช่วงกลางวันที่แดดจ้า มีหนุ่มสาวหลายคู่ แวะมาถ่ายภาพงานแต่งงาน (Wedding Studio) และส่วนใหญ่เป็นชาวต่างชาติ ซึ่งทำให้คนไทยอย่างเราภูมิใจในความงดงามของบ้านเมืองเรา
สะพานหิน
นอกจากเขารังแล้ว สะพานหิน ก็เป็นอีกสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของชาวเมืองภูเก็ต
คุณพ่อของฉัน ซึ่งเป็นคนภูเก็ต เคยเล่าให้ฟังว่า หนุ่มสาวในเมือง จะมาเกี้ยวพาราสีกันที่สะพานหินแห่งนี้ และในช่วงเทศกาลกินเจ ชาวเมืองภูเก็ตก็จะมาส่งเทพเจ้ากันที่นี่ค่ะ
ช่วงเวลาที่เหมาะไปเดินเล่นที่สะพานหิน เป็นช่วงเช้า และเย็นค่ะ ใครที่ชอบออกกำลังกาย ก็ติดรองเท้าจ้อกกิ้งมาด้วย วิ่งรอบๆ ชมวิวทะเล สูดอากาศสดๆ อิ่มใจจริงค่ะ
การเดินทาง : ตั้งอยู่ในตัวเมืองภูเก็ต ขับรถตามถนนภูเก็ตตรงมาเรื่อยๆ
— The End —
Related Posts: