เออ … นั่นสิค่ะ ทำไมฉันไม่เคยนึกสงสัยเลยว่า สถานีรถไฟฟ้าของฮ่องกงถึงเป็นสีต่างกัน คงเพราะฉันหาคำตอบให้ตัวเองว่า ก็มันเพื่อความสวยงามยังไงหล่ะ แต่จริงๆแล้วรู้ไหมค่ะว่า มันมีเหตุผลลึกกว่านั้น …
เหตุผลแรก เป็นด้านความสวยงาม Beautify ซึ่งฉันก็ทายถูกนะสิ ^^
เหตุผลที่สอง เพื่อเป็นการสร้างความสว่างให้กับชานชลาที่หม่นหมอง เพราะไม่มีหน้าต่างและไร้แสงธรรมชาติ (อ้า..)
เหตุผลที่สาม เพื่อเป็นการช่วยบอกว่านี่เป็นสถานีใด (identify) เพราะในช่วงที่รถไฟเปิดวิ่งครั้งแรก เมื่อปี 1979 คนจีนยังอ่านหนังสือไม่ออกเยอะ จะมาเขียนชื่อสถานีและใช้สีเหมือนกัน ก็ลงผิดตายนะสิ (อ๋อ)
และสุดท้ายแล้ว สีแดงซึ่งเป็นสีทรงพลังของคนจีนก็เป็นสีหลักที่เลือกใช้ในสถานีใหญ่ๆ เพื่อให้คนจดจำได้ เช่น Mong Kok, Central หรือ Tsuen Wan
แล้วชื่อของสถานีหล่ะ มีความสัมพันธ์กับสีที่เลือกด้วยไหม? ตอบเลยว่ามีค่ะ เช่น Wong Tai Sin ของวัดหวังต้าเซียน ที่เราคุ้นเคย ก็ใช้โทนสีเหลืองเพราะ Wong แปลว่าเหลือง หรือ Lai Chi Kok แหล่งเสื้อผ้าประตูน้ำของฮ่องกง ก็ใช้สีชมพูแดง เพราะ Lai Chi มีความหมายว่าลิ้นจี่นั่นเองค่ะ
กลับมานั่งนึกถึงเวลาเราขึ้น/ลงสถานีรถไฟฟ้าของบ้านเรา ฉันใช้ความชำนาญเป็นหลัก กะระยะเวลา ดูไฟบนแผนที่บ้าง หรือฟังเสียประกาศบ้าง และก็เดินลง ชื่อสถานีหรือ แทบไม่เคยหันไปมองเลย (ใครเป็นบ้างค่ะ) แต่วิธีนี้ก็ใช้ได้แต่เฉพาะเส้นทางที่คุ้นเคยเท่านั้น เพราะถ้าเป็นเส้นทางใหม่ๆ ก็ต้องสังเกตุสังกา จับตากันน่าดู คิดไปคิดมา เจ้าระบบสีนี่ ก็ยังน่าจะเวริค์อยู่ในยุคปัจจุบัน เพราะถ้าเรารู้ว่าสถานีที่จะลงเป็นสีใด ก็ง่ายขึ้นเหมือนกันนะคะ … แต่ในกรณีนี้ คงยกเว้นสถานีรถไฟของโตเกียวไว้หนึ่งเมือง เพราะจำนวนทุกสถานีรวมกัน Palette สีทั้งหมดคงยังไม่พอเลย … ว่าไหมค่ะ
แหล่งข้อมูล South China Morning Post
12 Dec 2016
0 Comments
ทำไมสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน MTR ของฮ่องกงถึงเป็นสีต่างกัน?
เออ … นั่นสิค่ะ ทำไมฉันไม่เคยนึกสงสัยเลยว่า สถานีรถไฟฟ้าของฮ่องกงถึงเป็นสีต่างกัน คงเพราะฉันหาคำตอบให้ตัวเองว่า ก็มันเพื่อความสวยงามยังไงหล่ะ แต่จริงๆแล้วรู้ไหมค่ะว่า มันมีเหตุผลลึกกว่านั้น …
เหตุผลแรก เป็นด้านความสวยงาม Beautify ซึ่งฉันก็ทายถูกนะสิ ^^
เหตุผลที่สอง เพื่อเป็นการสร้างความสว่างให้กับชานชลาที่หม่นหมอง เพราะไม่มีหน้าต่างและไร้แสงธรรมชาติ (อ้า..)
เหตุผลที่สาม เพื่อเป็นการช่วยบอกว่านี่เป็นสถานีใด (identify) เพราะในช่วงที่รถไฟเปิดวิ่งครั้งแรก เมื่อปี 1979 คนจีนยังอ่านหนังสือไม่ออกเยอะ จะมาเขียนชื่อสถานีและใช้สีเหมือนกัน ก็ลงผิดตายนะสิ (อ๋อ)
และสุดท้ายแล้ว สีแดงซึ่งเป็นสีทรงพลังของคนจีนก็เป็นสีหลักที่เลือกใช้ในสถานีใหญ่ๆ เพื่อให้คนจดจำได้ เช่น Mong Kok, Central หรือ Tsuen Wan
แล้วชื่อของสถานีหล่ะ มีความสัมพันธ์กับสีที่เลือกด้วยไหม? ตอบเลยว่ามีค่ะ เช่น Wong Tai Sin ของวัดหวังต้าเซียน ที่เราคุ้นเคย ก็ใช้โทนสีเหลืองเพราะ Wong แปลว่าเหลือง หรือ Lai Chi Kok แหล่งเสื้อผ้าประตูน้ำของฮ่องกง ก็ใช้สีชมพูแดง เพราะ Lai Chi มีความหมายว่าลิ้นจี่นั่นเองค่ะ
กลับมานั่งนึกถึงเวลาเราขึ้น/ลงสถานีรถไฟฟ้าของบ้านเรา ฉันใช้ความชำนาญเป็นหลัก กะระยะเวลา ดูไฟบนแผนที่บ้าง หรือฟังเสียประกาศบ้าง และก็เดินลง ชื่อสถานีหรือ แทบไม่เคยหันไปมองเลย (ใครเป็นบ้างค่ะ) แต่วิธีนี้ก็ใช้ได้แต่เฉพาะเส้นทางที่คุ้นเคยเท่านั้น เพราะถ้าเป็นเส้นทางใหม่ๆ ก็ต้องสังเกตุสังกา จับตากันน่าดู คิดไปคิดมา เจ้าระบบสีนี่ ก็ยังน่าจะเวริค์อยู่ในยุคปัจจุบัน เพราะถ้าเรารู้ว่าสถานีที่จะลงเป็นสีใด ก็ง่ายขึ้นเหมือนกันนะคะ … แต่ในกรณีนี้ คงยกเว้นสถานีรถไฟของโตเกียวไว้หนึ่งเมือง เพราะจำนวนทุกสถานีรวมกัน Palette สีทั้งหมดคงยังไม่พอเลย … ว่าไหมค่ะ
แหล่งข้อมูล South China Morning Post
Related Posts: