ชื่อของ “น่าน” ถูกเอาไปแซวเล่นอยู่บ่อยครั้ง “น่านนะสิ” “น่านไง” หรือ “จะไปน่านนนน” บล็อกนี้เลยไม่ขอแซวน่านแล้ว เดี๋ยวจะงอน และตั้งชื่อบล็อกตรงกับใจไปเลยว่า “น่านน่าเที่ยว” เพราะว่าน่านนั้นน่าเที่ยวจริงๆ และนี่ก็คือแหล่งท่องเที่ยวในน่านที่เราไปแล้วถูกตาต้องใจ จะอยากจะแนะนำต่อค่ะ
วัดภูมินทร์
วัดสำคัญของน่าน เป็นจุดหมายแรกของทริป พระอุโบสถของวัดภูมินทร์ทาด้วยสีขาวดูธรรมดาจากด้านนอก แถมยังไม่สูงโปร่งเหมือนวัดในภาคกลาง คงเพราะรูปแบบของล้านนา รูปทรงอุโบสถเป็นจตุรมุข หรือสีเหลี่ยม พระประธานภายในประทับอยู่กลางอุโบสถ มีถึง 4 พระองค์ แต่ละองค์หันพระพักตร์ออกแต่ละทิศ สู่บานประตูบันไดนาค ดังนั้นไม่ว่าเราจะเดินขึ้นบันไดนาคจากทิศไหน ก็จะได้สบตากับพระพักตร์ของพระประธาน ถือเป็นความแปลกที่ยังไม่เคยเห็นในวัดไหนมาก่อนในประเทศไทย
คนส่วนใหญ่ที่ตั้งใจมาวัดภูมินทร์ จะสนใจกับภาพวาดฝาผนังภายในอุโบสถมากกว่า โดยเฉพาะภาพวาดของปู่ม่าน ย่าม่าน ที่ทำให้ท่ากระซิบรักนั้นโด่งดังจนถูกนำไปทำเป็นสัญลักษณ์ของเมือง หนุ่มสาวเอามาล้อเลียนกันสนุกสนาน
วัดมิ่งเมือง
มีอีกชื่อว่า วัดเงิน เป็นที่ประดิษฐสถานของเสาหลักเมือง ที่เราเข้าไปสักการะและผูกผ้ารอบเสาได้ ความงดงามของวัดเงิน คือสถาปัตยกรรมลวดลายปูนปั้นที่วิจิตร ละเอียดยิบ และฉาบด้วยสีขาวประกายเงิน เมื่อโดนแสงอาทิตย์ไล้จะยิ่งส่องประกายสีเงินระยิบระยับ แน่นอนว่างานฝีมืออย่างนี้ ต้องเป็นระดับชั้นครูของช่างเชียงแสนเท่านั้น ก่อนกลับอย่าลืมแวะสักการะช้างเผือกที่ปั้นได้สมจริงมาก ใครอยากได้โชคลาภให้เดินลอดท้องช้างเพื่อความสุขสวัสดี
วัดศรีพันต้น
พญานาคเจ็ดเศียรที่ชูคออยู่ตรงบันไดวัดนั้นสมจริงมากๆค่ะ ยิ่งไปยืนอยู่ใต้ฐานยิ่งน่ากลัวและน่าเกรงขาม ลายปูนปั้นละเอียดและวิจิตรอีกเช่นเคย อุโบสถของวัดทาสีทองอร่าม เสาลงรักปิดทองสวยงาม ภาพเขียนฝาผนังเล่าประวัติของพระพุทธเจ้า และกำเนิดเมืองน่าน … หลังจากชมทั้ง 3 วัดในตัวเมืองน่านกันแล้ว ต้องยกมือให้ช่างฝีมือชาวน่านว่าเก่งจริงๆ สวย ละเอียด และดูแลรักษาได้เป็นอย่างดีเยี่ยม
อุโมงค์ต้นจามจุรี
อยู่ด้านหน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน เป็นทางเดินสายสั้นๆ ที่สองข้างทางเรียงรายด้วยต้นจามจุรี วันนี้ (ฤดูหนาว) ต้นเหลือแต่กิ่งก้าน ไร้ดอก แต่ก็สวยไปอีกแบบ ยิ่งไปตอนพระอาทิตย์กำลังจะตกดิน ก็เลยได้ภาพที่มีแสงสวยๆเข้ามาร่วมเฟรมด้วย
ดอยภูคา (จุดชมวิว, 1715)
วันที่สองของการเดินทาง เราใช้เวลาทั้งวัน ขับรถขึ้นเขาขึ้นดอย ดูภูมิทัศน์ของน่าน ซึ่งยอมรับว่าสวยจริงๆ แม้ทางขึ้นลงเขาจะโค้งไปมา ลาดชันบ้าง แต่ก็ไม่ทำคลื่นไส้ หรือเมารถกันสักคน จะมีเพียงตอนเย็นๆที่หลานชายเริ่มบ่นอิดออด ว่าเมื่อไหร่จะกลับโรงแรมสักที แต่ที่บ่นนี้ก็เพราะไม่มีสัญญานอินเตอร์เน็ต ให้เล่นเกมส์ดู you tube เสียมากกว่า
จุดชมวิวดอยภูคา สต๊อปแรกของดอยภูคา แวะให้เราเข้าห้องน้ำ ซื้อกาแฟ และขนมไปกินบนรถ นอกจากนั้นยังได้ยืดเส้นยืดสาย เดินไปด้านหลังของร้านอาหาร ก็จะมีลานให้กางเต้นท์ นอนชมดาว และทะเลหมอกในยามเช้า วันนั้นเราไปถึงตอนสายๆ แต่ก็ยังมีหมอกลอยพริ้วให้ชม สวยงาม อากาศเย็นสบาย รู้สึกเหมือนได้รางวัลชดเชยที่ไม่ได้เที่ยวต่างประเทศเสียนาน เลยยืนสูดไอหมอกกันสักพักใหญ่
1715 ไม่ไกลจากจุดชมวิวดอยภูคา เราก็มาถึงเนิน 1715 ที่เชื่อว่าเป็นจุดสูงที่สุดแห่งหนึ่งของดอยภูคาจากระดับทะเล 1715 เป็นจุดชมวิว และชมพระอาทิตย์ขึ้นที่สวยงาม และเราก็โชคดีมาก ที่สายหมอกในสายวันนั้นจัดเต็ม ลอยแน่นอยู่ในมวลอากาศ ต้อนรับคณะของเรา ช่างน่าประทับใจจริงๆ
บ่อเกลือ
ถัดจากดอยภูคา ไกด์ท้องถิ่นก็ขับรถพาเรามากินอาหารกลางวันที่บ่อเกลือ น่าเสียดายที่ร้านดังคนแน่นเอี๊ยด เราเลยต้องมากินที่ร้านหัวสะพาน (บล็อก “น่านน่าอร่อย”) และเดินทางต่อมาที่บ่อเกลือ อำเภอหนึ่งที่มีความสวยงามตามธรรมชาติ มีลำธาร น้ำใส และบ้านไม้ไผ่ของชาวบ้าน
บ่อเกลือ มีชื่อเสียงด้านการทำเกลือบนภูเขาที่ไม่มีใครเหมือนในประเทศไทย เพราะอยู่ดีๆ กลางหุบเขาลึก ก็มีบ่อน้ำ ซึ่งหลังจากเอาไปต้มก็เกิดเป็นเกลือบริสุทธิ์ วิธีการผลิตต่างกับนาเกลือที่เห็นตรงทางผ่านไปหัวหิน ที่ใช้กังหันหมุนน้ำทะเลเข้ามา ตากแดดสักพักน้ำทะเลก็จะระเหยกลายเป็นเกลือขายกันริมถนน
เกลือนี้ ชาวบ้านทำกันมาตั้งแต่อดีตกาล ปัจจุบันก็ยังทำกันอยู่ หน้าบ้านเปิดเป็นร้านขายของ ข้างในเป็นโรงงานผลิตเกลือให้เราเดินเข้าไปชม เมื่อมาถึงที่ เราซื้อดอกเกลือบริสุทธิ์กลับไปฝากเพื่อน รวมถึงแม่บ้าน เอาไว้ทำอาหาร หรือโรยสเต๊กเนื้อหรือปลาก็อร่อย (รสชาติดอกเกลือจะเค็มน้อยกว่าเกลือทั่วไป และจะมีหวานนิดๆติดที่ปลายลิ้น)
ถนนหมายเลข 3
ก่อนจะอำลาดอยในวันนี้ เรามีนัดกับ “ถนนลอยฟ้า” ชื่อแรกของถนนหมายเลข 3 เพราะเมื่อก่อนที่ยังไม่มีต้นไม้รกขึ้นสองข้างทาง ถนนที่โค้งไปมา เหมือนกับลอยอยู่บนฟ้า ตามคำบอกเล่าของไกด์
ใครอยากจะถ่ายรูปสวยๆ ต้องรอโอกาสและใจกล้าหน่อย … จริงๆ ค่อนข้างอันตราย ไม่ค่อยแนะนำ แต่ก็ทำลงไปแล้วค่ะ
วัดหนองบัว
วันที่ 3-4 ของทริป ไกด์พาเราไปเที่ยววัดหลายแห่ง จนทำให้รู้สึกว่าน่านที่มีเพียงภูเขากั้น นั้นเหมือนกับหลวงพระบาง เมืองมรดกโลกจริงๆ วัดหนองบัว ไม่ได้อยู่ในลิสต์ของเรา แต่ไกด์แนะนำให้ไป เราก็เชื่อคนในท้องที่ และเมื่อไปก็พบกับชุมชนเล็กๆ วัดในหมู่บ้านที่มีความสงบ อย่างที่ควรจะเป็นคุณสมับัติของวัด และมีจิตรกรรมฝาผนังที่บอกคำเดียวว่าตะลึง แม้ภาพวาดจะเก่า ลอก และเลือนราง แต่สัมผัสได้ถึงความเก๋าของช่างฝีมือ ซึ่งไกด์บอกว่าเป็นกลุ่มเดียวกับที่วาดวัดภูมินทร์ (ประมาณรัชกาลที่ 5) นอกจากนั้นรอบๆวัดยังน่าเดิน มีกลุ่มคุณลุง คุณป้ามานั่งเล่นเครื่องดนตรีโบราณ คุญยายนั่งปั่นไหมทอผ้า กลายเป็นว่า เราประทับใจวัดที่ที่สุดในน่านไปเลยค่ะ
วัดพระธาตุเขาน้อย
เช้าวันสุดท้ายก่อนกลับ เราแวะมานมัสการพระพุทธมหาอุดมมงคลนันทบุรีศรีน่าน ซึ่งเป็นพระพุทธรูปปางประทานพร บนฐานดอกบัวสูง 9 เมตร ที่ตั้งอยู่บนเนินเขาน้อย สูงกว่าระดับทะเล 240 เมตร ทำให้เห็นวิวของเมืองน่านเบื้องล่าง พระพุทธรูปองค์นี้ สร้างขึ้นเพื่อฉลองพระชนมพรรษา 6 รอบของในหลวงรัชกาลที่ 9 และพระเกศาทำจากทองคำหนักถึง 27 บาท
เราเดินเล่นรอบๆตัววัด เช้านี้อากาศหนาว ประมาณ 22 องศา เจ้าหลานชายถือฆ้องตีก้องกังวาน และเรายังทำบุญกับโคมสีที่ต้องใช้ไม้สอยขึ้นไปพักตามกิ่งก้านของต้นไม้อีกด้วย (ทางขึ้นวัด มีทั้งเดินขึ้นบันได 300 กว่าขั้น หรือจะขับรถขึ้นมายังลานจอดก็ได้)
วัดพระธาตุแช่แห้ง
ก่อนจะบินกลับ เราแวะไปขอพรพระธาตุแช่แห้ง ปูชนียสถานที่สำคัญของน่าน พระธาตุมีอายุกว่า 600 ปี ก่อนยุครัตนโกสินทร์อีก เจดีย์วัดมีสีทองเหลืองอร่าม บุด้วยแผ่นทองเหลืองในรูปแบบของล้านนา น่าเสียดาย (มาก) ที่เราไปสักการะในช่วงที่ปรับปรุง จึงอดเห็นความงดงาม แต่ก็ยังได้เดินรอบพระธาตุ 3 รอบ ขอพรและขอรับอานิสงค์ที่จะทำให้ชีวิตอยู่ดีมีสุข
นอกจากแหล่งท่องเที่ยวที่เล่ามา น่านยังมีที่น่าเที่ยวอีกหลายแห่ง เช่นวัดศรีมงคล (วัดก๋ง) และ วัดภูเก็ต ที่มีกะละแมไทลื้อ เป็นของฝากยอดนิยม รวมถึงน้ำตกสะปำ เมืองปัว และสกาด แต่เพราะเราไปในช่วงฤดูหนาว น้ำแล้ง ทุ่งนาเขียวหายไป บรรยากาศของปัว สกาดจึงไม่ได้ชุ่มฉ่ำเหมือนภาพที่ส่งแชร์ต่อๆกัน แต่เราก็ไม่ได้เสียใจอะไรนัก เพราะแลกกับท้องฟ้าไร้ฝน และที่สำคัญอุณหภูมิลดลงต่ำ จนเราได้ใส่เสื้อหนาวคอเต่าที่ไม่คิดว่าจะได้ใสในประเทศไทย
19 Mar 2021
0 Comments
น่านน่า “เที่ยว”
ชื่อของ “น่าน” ถูกเอาไปแซวเล่นอยู่บ่อยครั้ง “น่านนะสิ” “น่านไง” หรือ “จะไปน่านนนน” บล็อกนี้เลยไม่ขอแซวน่านแล้ว เดี๋ยวจะงอน และตั้งชื่อบล็อกตรงกับใจไปเลยว่า “น่านน่าเที่ยว” เพราะว่าน่านนั้นน่าเที่ยวจริงๆ และนี่ก็คือแหล่งท่องเที่ยวในน่านที่เราไปแล้วถูกตาต้องใจ จะอยากจะแนะนำต่อค่ะ
วัดภูมินทร์
วัดสำคัญของน่าน เป็นจุดหมายแรกของทริป พระอุโบสถของวัดภูมินทร์ทาด้วยสีขาวดูธรรมดาจากด้านนอก แถมยังไม่สูงโปร่งเหมือนวัดในภาคกลาง คงเพราะรูปแบบของล้านนา รูปทรงอุโบสถเป็นจตุรมุข หรือสีเหลี่ยม พระประธานภายในประทับอยู่กลางอุโบสถ มีถึง 4 พระองค์ แต่ละองค์หันพระพักตร์ออกแต่ละทิศ สู่บานประตูบันไดนาค ดังนั้นไม่ว่าเราจะเดินขึ้นบันไดนาคจากทิศไหน ก็จะได้สบตากับพระพักตร์ของพระประธาน ถือเป็นความแปลกที่ยังไม่เคยเห็นในวัดไหนมาก่อนในประเทศไทย
คนส่วนใหญ่ที่ตั้งใจมาวัดภูมินทร์ จะสนใจกับภาพวาดฝาผนังภายในอุโบสถมากกว่า โดยเฉพาะภาพวาดของปู่ม่าน ย่าม่าน ที่ทำให้ท่ากระซิบรักนั้นโด่งดังจนถูกนำไปทำเป็นสัญลักษณ์ของเมือง หนุ่มสาวเอามาล้อเลียนกันสนุกสนาน
วัดมิ่งเมือง
มีอีกชื่อว่า วัดเงิน เป็นที่ประดิษฐสถานของเสาหลักเมือง ที่เราเข้าไปสักการะและผูกผ้ารอบเสาได้ ความงดงามของวัดเงิน คือสถาปัตยกรรมลวดลายปูนปั้นที่วิจิตร ละเอียดยิบ และฉาบด้วยสีขาวประกายเงิน เมื่อโดนแสงอาทิตย์ไล้จะยิ่งส่องประกายสีเงินระยิบระยับ แน่นอนว่างานฝีมืออย่างนี้ ต้องเป็นระดับชั้นครูของช่างเชียงแสนเท่านั้น ก่อนกลับอย่าลืมแวะสักการะช้างเผือกที่ปั้นได้สมจริงมาก ใครอยากได้โชคลาภให้เดินลอดท้องช้างเพื่อความสุขสวัสดี
วัดศรีพันต้น
พญานาคเจ็ดเศียรที่ชูคออยู่ตรงบันไดวัดนั้นสมจริงมากๆค่ะ ยิ่งไปยืนอยู่ใต้ฐานยิ่งน่ากลัวและน่าเกรงขาม ลายปูนปั้นละเอียดและวิจิตรอีกเช่นเคย อุโบสถของวัดทาสีทองอร่าม เสาลงรักปิดทองสวยงาม ภาพเขียนฝาผนังเล่าประวัติของพระพุทธเจ้า และกำเนิดเมืองน่าน … หลังจากชมทั้ง 3 วัดในตัวเมืองน่านกันแล้ว ต้องยกมือให้ช่างฝีมือชาวน่านว่าเก่งจริงๆ สวย ละเอียด และดูแลรักษาได้เป็นอย่างดีเยี่ยม
อุโมงค์ต้นจามจุรี
อยู่ด้านหน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน เป็นทางเดินสายสั้นๆ ที่สองข้างทางเรียงรายด้วยต้นจามจุรี วันนี้ (ฤดูหนาว) ต้นเหลือแต่กิ่งก้าน ไร้ดอก แต่ก็สวยไปอีกแบบ ยิ่งไปตอนพระอาทิตย์กำลังจะตกดิน ก็เลยได้ภาพที่มีแสงสวยๆเข้ามาร่วมเฟรมด้วย
ดอยภูคา (จุดชมวิว, 1715)
วันที่สองของการเดินทาง เราใช้เวลาทั้งวัน ขับรถขึ้นเขาขึ้นดอย ดูภูมิทัศน์ของน่าน ซึ่งยอมรับว่าสวยจริงๆ แม้ทางขึ้นลงเขาจะโค้งไปมา ลาดชันบ้าง แต่ก็ไม่ทำคลื่นไส้ หรือเมารถกันสักคน จะมีเพียงตอนเย็นๆที่หลานชายเริ่มบ่นอิดออด ว่าเมื่อไหร่จะกลับโรงแรมสักที แต่ที่บ่นนี้ก็เพราะไม่มีสัญญานอินเตอร์เน็ต ให้เล่นเกมส์ดู you tube เสียมากกว่า
จุดชมวิวดอยภูคา สต๊อปแรกของดอยภูคา แวะให้เราเข้าห้องน้ำ ซื้อกาแฟ และขนมไปกินบนรถ นอกจากนั้นยังได้ยืดเส้นยืดสาย เดินไปด้านหลังของร้านอาหาร ก็จะมีลานให้กางเต้นท์ นอนชมดาว และทะเลหมอกในยามเช้า วันนั้นเราไปถึงตอนสายๆ แต่ก็ยังมีหมอกลอยพริ้วให้ชม สวยงาม อากาศเย็นสบาย รู้สึกเหมือนได้รางวัลชดเชยที่ไม่ได้เที่ยวต่างประเทศเสียนาน เลยยืนสูดไอหมอกกันสักพักใหญ่
1715 ไม่ไกลจากจุดชมวิวดอยภูคา เราก็มาถึงเนิน 1715 ที่เชื่อว่าเป็นจุดสูงที่สุดแห่งหนึ่งของดอยภูคาจากระดับทะเล 1715 เป็นจุดชมวิว และชมพระอาทิตย์ขึ้นที่สวยงาม และเราก็โชคดีมาก ที่สายหมอกในสายวันนั้นจัดเต็ม ลอยแน่นอยู่ในมวลอากาศ ต้อนรับคณะของเรา ช่างน่าประทับใจจริงๆ
บ่อเกลือ
ถัดจากดอยภูคา ไกด์ท้องถิ่นก็ขับรถพาเรามากินอาหารกลางวันที่บ่อเกลือ น่าเสียดายที่ร้านดังคนแน่นเอี๊ยด เราเลยต้องมากินที่ร้านหัวสะพาน (บล็อก “น่านน่าอร่อย”) และเดินทางต่อมาที่บ่อเกลือ อำเภอหนึ่งที่มีความสวยงามตามธรรมชาติ มีลำธาร น้ำใส และบ้านไม้ไผ่ของชาวบ้าน
บ่อเกลือ มีชื่อเสียงด้านการทำเกลือบนภูเขาที่ไม่มีใครเหมือนในประเทศไทย เพราะอยู่ดีๆ กลางหุบเขาลึก ก็มีบ่อน้ำ ซึ่งหลังจากเอาไปต้มก็เกิดเป็นเกลือบริสุทธิ์ วิธีการผลิตต่างกับนาเกลือที่เห็นตรงทางผ่านไปหัวหิน ที่ใช้กังหันหมุนน้ำทะเลเข้ามา ตากแดดสักพักน้ำทะเลก็จะระเหยกลายเป็นเกลือขายกันริมถนน
เกลือนี้ ชาวบ้านทำกันมาตั้งแต่อดีตกาล ปัจจุบันก็ยังทำกันอยู่ หน้าบ้านเปิดเป็นร้านขายของ ข้างในเป็นโรงงานผลิตเกลือให้เราเดินเข้าไปชม เมื่อมาถึงที่ เราซื้อดอกเกลือบริสุทธิ์กลับไปฝากเพื่อน รวมถึงแม่บ้าน เอาไว้ทำอาหาร หรือโรยสเต๊กเนื้อหรือปลาก็อร่อย (รสชาติดอกเกลือจะเค็มน้อยกว่าเกลือทั่วไป และจะมีหวานนิดๆติดที่ปลายลิ้น)
ถนนหมายเลข 3
ก่อนจะอำลาดอยในวันนี้ เรามีนัดกับ “ถนนลอยฟ้า” ชื่อแรกของถนนหมายเลข 3 เพราะเมื่อก่อนที่ยังไม่มีต้นไม้รกขึ้นสองข้างทาง ถนนที่โค้งไปมา เหมือนกับลอยอยู่บนฟ้า ตามคำบอกเล่าของไกด์
ใครอยากจะถ่ายรูปสวยๆ ต้องรอโอกาสและใจกล้าหน่อย … จริงๆ ค่อนข้างอันตราย ไม่ค่อยแนะนำ แต่ก็ทำลงไปแล้วค่ะ
วัดหนองบัว
วันที่ 3-4 ของทริป ไกด์พาเราไปเที่ยววัดหลายแห่ง จนทำให้รู้สึกว่าน่านที่มีเพียงภูเขากั้น นั้นเหมือนกับหลวงพระบาง เมืองมรดกโลกจริงๆ วัดหนองบัว ไม่ได้อยู่ในลิสต์ของเรา แต่ไกด์แนะนำให้ไป เราก็เชื่อคนในท้องที่ และเมื่อไปก็พบกับชุมชนเล็กๆ วัดในหมู่บ้านที่มีความสงบ อย่างที่ควรจะเป็นคุณสมับัติของวัด และมีจิตรกรรมฝาผนังที่บอกคำเดียวว่าตะลึง แม้ภาพวาดจะเก่า ลอก และเลือนราง แต่สัมผัสได้ถึงความเก๋าของช่างฝีมือ ซึ่งไกด์บอกว่าเป็นกลุ่มเดียวกับที่วาดวัดภูมินทร์ (ประมาณรัชกาลที่ 5) นอกจากนั้นรอบๆวัดยังน่าเดิน มีกลุ่มคุณลุง คุณป้ามานั่งเล่นเครื่องดนตรีโบราณ คุญยายนั่งปั่นไหมทอผ้า กลายเป็นว่า เราประทับใจวัดที่ที่สุดในน่านไปเลยค่ะ
วัดพระธาตุเขาน้อย
เช้าวันสุดท้ายก่อนกลับ เราแวะมานมัสการพระพุทธมหาอุดมมงคลนันทบุรีศรีน่าน ซึ่งเป็นพระพุทธรูปปางประทานพร บนฐานดอกบัวสูง 9 เมตร ที่ตั้งอยู่บนเนินเขาน้อย สูงกว่าระดับทะเล 240 เมตร ทำให้เห็นวิวของเมืองน่านเบื้องล่าง พระพุทธรูปองค์นี้ สร้างขึ้นเพื่อฉลองพระชนมพรรษา 6 รอบของในหลวงรัชกาลที่ 9 และพระเกศาทำจากทองคำหนักถึง 27 บาท
เราเดินเล่นรอบๆตัววัด เช้านี้อากาศหนาว ประมาณ 22 องศา เจ้าหลานชายถือฆ้องตีก้องกังวาน และเรายังทำบุญกับโคมสีที่ต้องใช้ไม้สอยขึ้นไปพักตามกิ่งก้านของต้นไม้อีกด้วย (ทางขึ้นวัด มีทั้งเดินขึ้นบันได 300 กว่าขั้น หรือจะขับรถขึ้นมายังลานจอดก็ได้)
วัดพระธาตุแช่แห้ง
ก่อนจะบินกลับ เราแวะไปขอพรพระธาตุแช่แห้ง ปูชนียสถานที่สำคัญของน่าน พระธาตุมีอายุกว่า 600 ปี ก่อนยุครัตนโกสินทร์อีก เจดีย์วัดมีสีทองเหลืองอร่าม บุด้วยแผ่นทองเหลืองในรูปแบบของล้านนา น่าเสียดาย (มาก) ที่เราไปสักการะในช่วงที่ปรับปรุง จึงอดเห็นความงดงาม แต่ก็ยังได้เดินรอบพระธาตุ 3 รอบ ขอพรและขอรับอานิสงค์ที่จะทำให้ชีวิตอยู่ดีมีสุข
นอกจากแหล่งท่องเที่ยวที่เล่ามา น่านยังมีที่น่าเที่ยวอีกหลายแห่ง เช่นวัดศรีมงคล (วัดก๋ง) และ วัดภูเก็ต ที่มีกะละแมไทลื้อ เป็นของฝากยอดนิยม รวมถึงน้ำตกสะปำ เมืองปัว และสกาด แต่เพราะเราไปในช่วงฤดูหนาว น้ำแล้ง ทุ่งนาเขียวหายไป บรรยากาศของปัว สกาดจึงไม่ได้ชุ่มฉ่ำเหมือนภาพที่ส่งแชร์ต่อๆกัน แต่เราก็ไม่ได้เสียใจอะไรนัก เพราะแลกกับท้องฟ้าไร้ฝน และที่สำคัญอุณหภูมิลดลงต่ำ จนเราได้ใส่เสื้อหนาวคอเต่าที่ไม่คิดว่าจะได้ใสในประเทศไทย
Related Posts: