เรื่อง “น้ำใจเชงเก้น” นี้ เคยเขียนระบายความรู้สึกในแฟนเพจส่วนตัว Thaifootprint.com ไปแล้วค่ะ โพสต์นั้นได้รับทั้งคำชม และก้อนหินกลับมาพร้อมๆ กันแต่เพราะมั่นใจเหลือเกินว่า ข้อมูลที่ให้เป็นประโยชน์จริงสำหรับนักเดินทางผู้ตั้งใจไปท่องยุโรปจึงหยิบยกกลับมาเขียนใหม่ เติมข้อมูลที่เป็นสาระมากขึ้น จึงหวังว่า หลังจากอ่านจบกันแล้ว ทุกคนจะวางแผนการขอวีซ่าเชงเก้นได้ถูกจังหวะยิ่งขึ้นนะคะ
1. เชงเก้นเป็นวีซ่าที่รวมประเทศในยุโรป ทั้ง 26 ประเทศเข้าด้วยกัน เมื่อได้รับเชงเก้นวีซ่า เราสามารถเดิน ทางเข้าออกทั้ง 26 ประเทศโดยเสรี ตามระยะเวลาและช่วงเวลาที่กำหนด เชงเก้นวีซ่าที่ขอมีหลายประเภท แต่ในบทความนี้ จะเน้นเฉพาะวีซ่านักท่องเที่ยวผู้เดินทางระยะสั้น และเดินทางหลายประเทศในทวีปยุโรปค่ะ รายชื่อของประเทศ ที่ใช้เชงเก้นวีซ่าดูได้ที่ลิงค์นี้ (http://www.schengenvisainfo.com/schengen-visa-countries-list/) หลักๆ จะมีประเทศท๊อปฮิต อย่างอิตาลี เยอรมัน ฝรั่งเศส สวิตเซอร์แลนด์ เนเธอร์แลนด์ สเปน และออสเตรียค่ะ Schengen Visa
เครดิต www.schengenvisainfo.com
2. เอกสารการขอวีซ่า คล้ายกันเกือบทุกประเทศ จะมีแบบฟอร์มให้กรอก เอกสารประกอบการยื่น เช่น จดหมายรับรองเงินเดือนจากที่ทำงาน ใบจองตั๋วเครื่องบินทั้งขาไปและขากลับ โรงแรมที่พักโดยเฉพาะคืนแรกในเชงเก้น พร้อมกับ Travel Insurance ประกันภัยการเดินทางซึ่งนักท่องเที่ยวทุกคนต้องทำ และมียอดประกันขั้นต่ำ 30,000 ยูโร หรือ ประมาณ 1.5 ล้านบาทค่ะ
3. ระยะเวลาการอนุมัติวีซ่า เฉลี่ยอยู่ที่ 7-15 วันทำการ ค่าธรรมเนียมเชงเก้นวีซ่าอยู่ที่ 60 ยูโร แต่ละประเทศคิดอัตราแลกเปลี่ยนต่างกัน ดังนั้นค่าธรรมเนียมวีซ่าจึงประมาณ 2,100-2,400 บาท ในกรณีที่วีซ่าไม่อนุมัติ ไม่สามารถขอเงินคืนได้ เด็กต่ำกว่า 6 ขวบไม่ต้องขอวีซ่า และนอกจากค่าธรรมเนียมวีซ่าแล้ว ยังอาจมีค่าธรรมเนียมในการดำเนินการ ประมาณ 480-500 บาท ค่าใช้จ่ายทุกอย่างต้องจ่ายเป็นเงินสดเท่านั้น จึงควรเตรียมสตางค์ไปให้พร้อมค่ะ
4. วันและเวลาในการยื่นวีซ่า เกือบทุกประเทศต้องจองคิวก่อนล่วงหน้า ซึ่งควรจองก่อน 2-3 สัปดาห์ก่อนที่จะไปยื่นเอกสาร ส่วนวันรับหนังสือเดินทางคืน แต่ละประเทศจะมีเวลากำหนดไว้ชัดเจน ส่วนใหญ่เป็นช่วงบ่าย และถ้าจะให้ผู้อื่นไปรับแทน ต้องมีหนังสือมอบอำนาจด้วยค่ะ
วันเวลาผ่านไป …
เมื่อได้รับอนุมัติเชงเก้นวีซ่าแล้ว “ระยะเวลาของวีซ่าที่อนุมัติ” เป็นสิ่งสุดท้ายที่หลายๆ คนลุ้นกันค่ะ และจากเหตุการณ์ที่เพิ่งเกิดขึ้นสดๆร้อนๆ จนเป็นประเด็นของ “น้ำใจเชงเก้น” นั้น คือ เราได้วีซ่าเชงเก้นในระยะเวลาที่น้อยนิดจนแทบจะกระดิกตัวไม่ได้ จากที่ขอระยะเวลาวีซ่าไป 6 เดือน เพราะตั้งใจไปยุโรปอีกปลายปี เรากลับได้มาเพียงไม่กี่สิบวัน อารมณ์ตอนนั้นแสนจะงุนงง เพราะเราเป็นนักท่องเที่ยวตัวอย่าง ที่ประพฤติตัวดีมาตลอด เข้าออกยุโรปก่อนหน้านี้ มาบ้าง จึงมั่นใจว่า ขอแล้วไม่น่าพลาด!!!
กรณีนี้เป็นประสบการณ์ราคาแพง (เสียทั้งเงินและเวลา) ที่สอนให้รู้ว่า “นโยบาย” ในการให้ระยะเวลาวีซ่า แต่ละประเทศนั้นต่างกัน (ลิบลับมากจริงๆค่ะ) สรุปคร่าวๆว่า ประเทศที่เป็นถิ่นเทือกเขาแอลป์ ดินแดนที่พี่เบิร์ดหลงรัก การอนุมัติระยะของวีซ่าดูจะแล้งน้ำใจมากที่สุด เช่นเดียวกับของประเทศที่เป็นต้น กำเนิด The Sound of Music ก็ดูโหดไม่ต่างกัน หรือจะเป็นของเมืองแห่งโรงเบียร์ และรถบีเอ็ม ที่ทำไมเหี้ยมไม่น้อยหน้าเพราะให้ระยะเวลาวีซ่าแบบสั้นกุด แค่เครื่องบินดีเลย์ก็ทำเอาเสียวสันหลังวาบๆ ว่าจะเดินทางกลับกันได้ไหม!!!
ต่างจากประเทศที่เป็นผู้ผลิตพาสต้ารายใหญ่ ประเทศที่มีหอเอนปิซ่าเป็นที่ตั้ง ยังขยายระยะเวลาเชงเก้นวีซ่าให้ถึง 6 เดือน เช่นเดียวกับเมืองน้ำหอมสุดโรแมนติก และเมืองที่จักรยานถีบได้อย่างปลอดภัยไม่ต้องกลัวถูกชนรายวัน ประเทศเหล่านี้ใจกว้างยืดระยะเวลาวีซ่าให้ยาวกว่า บ้างได้ 3, 6, 12 เดือน หรือจนหมดอายุหนังสือเดินทางกันเลยเชียว
และเมื่อรู้เช่นนี้แล้ว เราจึงฝากข้อมูลเหล่านี้ให้นักเดินทางไว้ขบคิด เป็นข้อมูลที่ไม่มีเอกสารใดๆ เขียนไว้ แต่รวบรวมจากประสบการณ์ของตัวเอง และคนรอบข้าง เผื่อจะได้ปรับเปลี่ยนเส้นทาง อยู่ประเทศที่ใจกว้างให้นานหน่อย จะได้ไปขอวีซ่าที่ประเทศนั้นๆ เผื่อลุ้นว่าจะได้เชงเก้นวีซ่านานจนหมดอายุหนังสือเดินทางกันเลยค่ะ …
สำคัญมาก
1. ควรศึกษาขั้นตอนการขอวีซ่าและรายละเอียดของเอกสาร พร้อมเงื่อนไขของแต่ละประเทศอีกครั้ง
2. บทความนี้ไม่ได้มีเจตนาให้มีนิสัยคดโกง หากเป็นเพียงการแนะนำทิปเล็กๆน้อยๆ สำหรับนักท่องเที่ยว ที่ประพฤติตัวดีผู้วางแผนไปเที่ยวยุโรปอีกหลายครั้งในเวลาอันใกล้
3. รายละเอียดในบทความนี้ รวบรวมจากประสบการณ์ของตัวเองและคนรอบๆ ตัว ดังนั้นจึงไม่การันตีว่าจะได้ระยะเวลาวีซ่าตามที่เขียนไว้เสมอไป
เว็บไซต์วีซ่าเชงเก้นของแต่ละประเทศ
เว็บไซต์หลัก (ภาษาอังกฤษ) www.schengenvisainfo.com
ประเทศฝรั่งเศส (ภาษาไทย) www.tlscontact.com/th2fr/help.php?id=cost_visa&l=th
ประเทศเนเธอแลนด์ (ภาษาไทย) www.vfsglobal.com/netherlands/thailand/thai/shorttermvisa.html
ประเทศอิตาลี(ภาษาไทย) www.vfsglobal.com/italy/thailand/thai/tourist.html
ประเทศเยอรมัน (ภาษาไทย) www.bangkok.diplo.de/Vertretung/bangkok/th/08/Touristenvisum.html
ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ (ภาษาไทย) www.tlscontact.com/th2ch/login.php?l=th
ประเทศสเปน (ภาษาไทย) www.vfsglobal.com/spain/thailand/Thai/index.htm
4 Jun 2015
0 Comments
น้ำใจเชงเก้น … เตรียมตัวและหัวใจไปขอวีซ่าเที่ยวยุโรป
เรื่อง “น้ำใจเชงเก้น” นี้ เคยเขียนระบายความรู้สึกในแฟนเพจส่วนตัว Thaifootprint.com ไปแล้วค่ะ โพสต์นั้นได้รับทั้งคำชม และก้อนหินกลับมาพร้อมๆ กันแต่เพราะมั่นใจเหลือเกินว่า ข้อมูลที่ให้เป็นประโยชน์จริงสำหรับนักเดินทางผู้ตั้งใจไปท่องยุโรปจึงหยิบยกกลับมาเขียนใหม่ เติมข้อมูลที่เป็นสาระมากขึ้น จึงหวังว่า หลังจากอ่านจบกันแล้ว ทุกคนจะวางแผนการขอวีซ่าเชงเก้นได้ถูกจังหวะยิ่งขึ้นนะคะ
1. เชงเก้นเป็นวีซ่าที่รวมประเทศในยุโรป ทั้ง 26 ประเทศเข้าด้วยกัน เมื่อได้รับเชงเก้นวีซ่า เราสามารถเดิน ทางเข้าออกทั้ง 26 ประเทศโดยเสรี ตามระยะเวลาและช่วงเวลาที่กำหนด เชงเก้นวีซ่าที่ขอมีหลายประเภท แต่ในบทความนี้ จะเน้นเฉพาะวีซ่านักท่องเที่ยวผู้เดินทางระยะสั้น และเดินทางหลายประเทศในทวีปยุโรปค่ะ รายชื่อของประเทศ ที่ใช้เชงเก้นวีซ่าดูได้ที่ลิงค์นี้ (http://www.schengenvisainfo.com/schengen-visa-countries-list/) หลักๆ จะมีประเทศท๊อปฮิต อย่างอิตาลี เยอรมัน ฝรั่งเศส สวิตเซอร์แลนด์ เนเธอร์แลนด์ สเปน และออสเตรียค่ะ Schengen Visa
เครดิต www.schengenvisainfo.com
2. เอกสารการขอวีซ่า คล้ายกันเกือบทุกประเทศ จะมีแบบฟอร์มให้กรอก เอกสารประกอบการยื่น เช่น จดหมายรับรองเงินเดือนจากที่ทำงาน ใบจองตั๋วเครื่องบินทั้งขาไปและขากลับ โรงแรมที่พักโดยเฉพาะคืนแรกในเชงเก้น พร้อมกับ Travel Insurance ประกันภัยการเดินทางซึ่งนักท่องเที่ยวทุกคนต้องทำ และมียอดประกันขั้นต่ำ 30,000 ยูโร หรือ ประมาณ 1.5 ล้านบาทค่ะ
3. ระยะเวลาการอนุมัติวีซ่า เฉลี่ยอยู่ที่ 7-15 วันทำการ ค่าธรรมเนียมเชงเก้นวีซ่าอยู่ที่ 60 ยูโร แต่ละประเทศคิดอัตราแลกเปลี่ยนต่างกัน ดังนั้นค่าธรรมเนียมวีซ่าจึงประมาณ 2,100-2,400 บาท ในกรณีที่วีซ่าไม่อนุมัติ ไม่สามารถขอเงินคืนได้ เด็กต่ำกว่า 6 ขวบไม่ต้องขอวีซ่า และนอกจากค่าธรรมเนียมวีซ่าแล้ว ยังอาจมีค่าธรรมเนียมในการดำเนินการ ประมาณ 480-500 บาท ค่าใช้จ่ายทุกอย่างต้องจ่ายเป็นเงินสดเท่านั้น จึงควรเตรียมสตางค์ไปให้พร้อมค่ะ
4. วันและเวลาในการยื่นวีซ่า เกือบทุกประเทศต้องจองคิวก่อนล่วงหน้า ซึ่งควรจองก่อน 2-3 สัปดาห์ก่อนที่จะไปยื่นเอกสาร ส่วนวันรับหนังสือเดินทางคืน แต่ละประเทศจะมีเวลากำหนดไว้ชัดเจน ส่วนใหญ่เป็นช่วงบ่าย และถ้าจะให้ผู้อื่นไปรับแทน ต้องมีหนังสือมอบอำนาจด้วยค่ะ
วันเวลาผ่านไป …
เมื่อได้รับอนุมัติเชงเก้นวีซ่าแล้ว “ระยะเวลาของวีซ่าที่อนุมัติ” เป็นสิ่งสุดท้ายที่หลายๆ คนลุ้นกันค่ะ และจากเหตุการณ์ที่เพิ่งเกิดขึ้นสดๆร้อนๆ จนเป็นประเด็นของ “น้ำใจเชงเก้น” นั้น คือ เราได้วีซ่าเชงเก้นในระยะเวลาที่น้อยนิดจนแทบจะกระดิกตัวไม่ได้ จากที่ขอระยะเวลาวีซ่าไป 6 เดือน เพราะตั้งใจไปยุโรปอีกปลายปี เรากลับได้มาเพียงไม่กี่สิบวัน อารมณ์ตอนนั้นแสนจะงุนงง เพราะเราเป็นนักท่องเที่ยวตัวอย่าง ที่ประพฤติตัวดีมาตลอด เข้าออกยุโรปก่อนหน้านี้ มาบ้าง จึงมั่นใจว่า ขอแล้วไม่น่าพลาด!!!
กรณีนี้เป็นประสบการณ์ราคาแพง (เสียทั้งเงินและเวลา) ที่สอนให้รู้ว่า “นโยบาย” ในการให้ระยะเวลาวีซ่า แต่ละประเทศนั้นต่างกัน (ลิบลับมากจริงๆค่ะ) สรุปคร่าวๆว่า ประเทศที่เป็นถิ่นเทือกเขาแอลป์ ดินแดนที่พี่เบิร์ดหลงรัก การอนุมัติระยะของวีซ่าดูจะแล้งน้ำใจมากที่สุด เช่นเดียวกับของประเทศที่เป็นต้น กำเนิด The Sound of Music ก็ดูโหดไม่ต่างกัน หรือจะเป็นของเมืองแห่งโรงเบียร์ และรถบีเอ็ม ที่ทำไมเหี้ยมไม่น้อยหน้าเพราะให้ระยะเวลาวีซ่าแบบสั้นกุด แค่เครื่องบินดีเลย์ก็ทำเอาเสียวสันหลังวาบๆ ว่าจะเดินทางกลับกันได้ไหม!!!
ต่างจากประเทศที่เป็นผู้ผลิตพาสต้ารายใหญ่ ประเทศที่มีหอเอนปิซ่าเป็นที่ตั้ง ยังขยายระยะเวลาเชงเก้นวีซ่าให้ถึง 6 เดือน เช่นเดียวกับเมืองน้ำหอมสุดโรแมนติก และเมืองที่จักรยานถีบได้อย่างปลอดภัยไม่ต้องกลัวถูกชนรายวัน ประเทศเหล่านี้ใจกว้างยืดระยะเวลาวีซ่าให้ยาวกว่า บ้างได้ 3, 6, 12 เดือน หรือจนหมดอายุหนังสือเดินทางกันเลยเชียว
และเมื่อรู้เช่นนี้แล้ว เราจึงฝากข้อมูลเหล่านี้ให้นักเดินทางไว้ขบคิด เป็นข้อมูลที่ไม่มีเอกสารใดๆ เขียนไว้ แต่รวบรวมจากประสบการณ์ของตัวเอง และคนรอบข้าง เผื่อจะได้ปรับเปลี่ยนเส้นทาง อยู่ประเทศที่ใจกว้างให้นานหน่อย จะได้ไปขอวีซ่าที่ประเทศนั้นๆ เผื่อลุ้นว่าจะได้เชงเก้นวีซ่านานจนหมดอายุหนังสือเดินทางกันเลยค่ะ …
สำคัญมาก
1. ควรศึกษาขั้นตอนการขอวีซ่าและรายละเอียดของเอกสาร พร้อมเงื่อนไขของแต่ละประเทศอีกครั้ง
2. บทความนี้ไม่ได้มีเจตนาให้มีนิสัยคดโกง หากเป็นเพียงการแนะนำทิปเล็กๆน้อยๆ สำหรับนักท่องเที่ยว ที่ประพฤติตัวดีผู้วางแผนไปเที่ยวยุโรปอีกหลายครั้งในเวลาอันใกล้
3. รายละเอียดในบทความนี้ รวบรวมจากประสบการณ์ของตัวเองและคนรอบๆ ตัว ดังนั้นจึงไม่การันตีว่าจะได้ระยะเวลาวีซ่าตามที่เขียนไว้เสมอไป
เว็บไซต์วีซ่าเชงเก้นของแต่ละประเทศ
เว็บไซต์หลัก (ภาษาอังกฤษ) www.schengenvisainfo.com
ประเทศฝรั่งเศส (ภาษาไทย) www.tlscontact.com/th2fr/help.php?id=cost_visa&l=th
ประเทศเนเธอแลนด์ (ภาษาไทย) www.vfsglobal.com/netherlands/thailand/thai/shorttermvisa.html
ประเทศอิตาลี(ภาษาไทย) www.vfsglobal.com/italy/thailand/thai/tourist.html
ประเทศเยอรมัน (ภาษาไทย) www.bangkok.diplo.de/Vertretung/bangkok/th/08/Touristenvisum.html
ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ (ภาษาไทย) www.tlscontact.com/th2ch/login.php?l=th
ประเทศสเปน (ภาษาไทย) www.vfsglobal.com/spain/thailand/Thai/index.htm
Related Posts: